แพทย์ นักศึกษาแพทย์ ระบบการเรียนแพทย์ของสหรัฐฯ

in training นักศึกษาแพทย์ฝึกหัด
นักศึกษาแพทย์หรือ medical student
นักศึกษาแพทย์ปีสุดท้ายหรือแพทย์ฝึกงานยังไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง อันนี้จะเรียก extern หรือ intern
แพทย์ที่กำลังอยู่ในระหว่างการอบรมแพทย์เฉพาะทาง เรียกว่า resident
chief resident คือ resident ปีสุดท้ายที่จะทำหน้าที่ดูแลแพทย์รุ่นน้องทั้งหมดแทน staff
attending แพทย์ประจำโรงพยาบาล
หากเรียนต่ออนุสาขาอีกจะเรียกเป็น fellow

การเรียนแพทย์ของสหรัฐฯ จะต้องจบปริญญาตรีมาก่อนในสาขาใดสาขาหนึ่ง แล้วมาเข้าโรงเรียนแพทย์ต่ออีกสี่ปี
หลังจากนั้นจะเป็นการฝึกงานในฐานะแพทย์ฝึกหัดหรือที่เรียกว่า intern ต่อ
และเมื่อผ่าน internship แล้วหากประสงค์จะเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางก็จะต้องมาเข้า residency training program ของแต่ละสาขา เช่นอายุรกรรม, ศัลยกรรม, กุมารเวชกรรมหรือสูตินรีเวช อีกอย่างน้อยสามปี บางสาขาอาจเป็นสี่ปี
ซึ่งเมื่อจบตรงนี้แล้วจะเป็นแพทย์เฉพาะทาง เช่นแพทย์อายุรกรรม, แพทย์ศัลยกรรม
แต่หากต้องการรักษาลงไปเฉพาะระบบจะต้องเรียนต่ออีกซึ่งจะเรียก fellowship
เช่นต้องการเป็นแพทย์อายุรกรรมหัวใจหรือแพทย์อายุรกรรมสมอง, หรือจะเป็นศัลยแพทย์พลาสติก ก็จะต้องฝึกอบรมต่ออีกอย่างน้อยสองปี
เมื่อจบแล้วก็จะเป็นแพทย์เฉพาะทางอนุสาขา...
หากจะไปต่อก็ไปได้อีก อย่างเช่นทางอายุรกรรมสมอง จะไปศึกษาด้านโรคลมชัก, ทางด้านปวดศีรษะหรือทางด้านการเคลื่อนไหวผิดปกติโดยตรง ก็จะมีหลักสูตรย่อยลงไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปี

ส่วนระบบโรงพยาบาลนั้น...ปกติแล้วแผนกผู้ป่วยนอกจะแยกเป็นแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉิน ซึ่งแผนกผู้ป่วยนอกก็จะตรวจผู้ป่วยนัดหรือผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่หนัก
ส่วนแผนกฉุกเฉินก็จะดูแลผู้ป่วยหนักหรือผู้ป่วยฉุกเฉิน
โรงพยาบาลใหญ่ ๆ บางแห่งจะแยกแผนกฉุกเฉินกับแผนกอุบัติเหตุออกจากกัน ซึ่งหากเป็นแบบนี้แพทย์ศัลยกรรมก็จะแยกไปอยู่แผนกอุบัติเหตุ
แต่ส่วนใหญ่มักอยู่รวมกันทั้งแผนกฉุกเฉินและอุบัติเหตุ ดังนั้นที่แผนกฉุกเฉินจึงต้องมีแพทย์ประจำทุกแผนกอยู่ไม่ว่าจะเป็นอายุรกรรม, ศัลยกรรม, กุมารเวชกรรม
ซึ่งในหนังเรื่อง ER จะเป็นชีวิตของพวก resident เป็นหลัก เพราะพวก staff จะไม่ต้องมาอยู่เวรแบบนี้แล้ว